เริ่มยังไงในวัยเริ่มหม่ำ อาหารเด็ก 6 เดือน


🥕#ขั้นตอนการเตรียมอาหารสำหรับเด็กวัยเริ่มหม่ำ
ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน ลูกควรทานนมแม่เท่านั้น ไม่ควรให้ทานกล้วย ข้าวบด หรืออื่นๆ ก่อนอายุ 6 เดือนค่ะ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตเนื่องจากลำไส้อุดตัน
สำหรับคุณแม่มือใหม่มาดูวิธีเริ่มต้นอาหารมื้อแรกของลูกรักกันค่ะ
🍎1.#เลือกวัตถุดิบที่สดและมีคุณภาพ
-ผักผลไม้ควรสดและล้างทำความสะอาดก่อนให้ลูกทาน
-สำหรับเนื้อสัตว์หรือเนื้อไก่ควรนำมาล้างให้สะอาด
ลอกหนัง หรือหั่นส่วนที่เป็นไขมันออกก่อนที่จะนำไปทำอาหาร
ควรเลือกประเภทเนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้ให้เหมาะสมตามวัย
เด็กเริ่มหัดทานให้ปั่นหรือบดละเอียด และเพิ่มความหยาบ
ของอาหารตามวัยค่ะ
-เด็ก 6 เดือนควรทานอาหารบดละเอียด
-เด็ก 8-9เดือน สามารถทานหยาบขึ้น
🍎2.#กรรมวิธีในการทำอาหาร
-การนึ่ง เป็นวิธีทำอาหารที่ดีที่สุดเมื่อใช้กับผัก
เพราะจะช่วยคงคุณทางสารอาหารไว้ได้มาก
เพียงใช้ซึ้งนึ่งอาหารหรือวางกระชอนเหนือหม้อต้มน้ำเดือด
จนผักนิ่ม ประมาณ 10-15 นาที
-การต้ม มักใช้ต้มพวกธัญพืช ผัก และเนื้อสัตว์บางชนิด
หรือต้มเพื่อทำน้ำซุปใสแบบธรรมชาติให้ลูกน้อยได้จิบทานก็ได้
-การอบ เหมาะสำหรับผักตระกูลกะหล่ำ เนื้อสัตว์ มันหวาน
เลือกวิธีประกอบการแบบใดก็ได้
จากนั้นนำวัตถุดิบที่ทำมาบดละเอียดผ่านกระชอน
และค่อยเพิ่มความหยาบของอาหารขึ้นตามวัยลูกน้อย
🍎3.#การบดอาหาร
-นำอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเรียบร้อยมาผสมกันเป็นชุดเล็ก ๆ
เพื่อส่วนผสมต่าง ๆ จะได้ผสมกันอย่างทั่วถึง
โดยสามารถผสมกับน้ำนมแม่หรือน้ำสุกเล็กน้อย
เพื่อจะได้อาหารเหลวที่ลูกน้อยจะรับประทานได้ง่าย
🍎4.#การเก็บรักษาอาหารทารก
การทำอาหารแต่ละครั้งอาจใช้เวลามาก
สำหรับแม่ๆที่ไม่ค่อยมีเวลา สามารถทำครั้งละมากๆ
แล้วแช่งช่องแข็ง จากนั้นแบ่งให้ลูกทานมื้อเล็กๆค่ะ
-ตักอาหารเก็บลงในภาชนะที่เป็นแก้วหรือพาสติกพร้อมฝาปิดสุญญากาศ
แปะฉลากชื่ออาหารและวันที่ทำบนภาชนะ
และไม่ควรเก็บทิ้งไว้เกิน 3 วัน
-ตักอาหารใส่ในช่องทำน้ำแข็งและนำไปแช่แข็งในช่องฟรีซ
เมื่อแข็งเป็นก้อนแล้วให้นำออกมาใส่ถุงซิปล็อคหรือถุงพลาสติกที่ปิดปากได้
-วิธีการละลายอาหารทารกโดยนำไปแช่ตู้เย็นช่องธรรมดาหนึ่งคืน
หรือนำอาหารที่แช่อยู่ในภาชนะไปอุ่นในกระทะตั้งเดือนประมาณ 20 นาที
 #อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นทำอาหารให้ลูก

1.เครื่องปั่นอาหาร อาจใช้กระชอนเล็กๆบดหากทำปริมาณมื้อต่อมื้อ แต่หากทำครั้งละมากๆเพื่อเก็บแช่ช่องแข็ง การใช้เครื่องปั่นจะสะดวกรวดเร็วมากกว่าค่ะ

2ผ้ากันเปื้อน กระดาษทิชชู่ เพราะเด็กเล็กๆก็จะอดเปื้อนไม่ได้ค่ะ

3.น้ำยาล้างผัก หรือด่างทับทิม แม้จะซื้อผักออแกร์นิคก็ควรทำความสะอาดอีกครั้งค่ะ

4.อุปกรณ์ทารอาหารลูก เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ ซึ่งมีให้เลือกตามวัยนะคะ
เด็กเล็กๆจะมีช้อนซิลิโคน และแก้วหัดดูด
แม่ๆสามารถเลือกซื้อตามห้างได้้เลยค่ะ
แต่สิ่งสำคัญคือต้องปลอดสารพิษด้วยนะคะ

5.อุปกรณ์ทำอาหาร หม้อ กะละมัง ทัพพี
ควรแยกจากผู้ใหญ่นะคะ เพราะบางครั้งแม่ๆทำอาหารรสเผ็ด อาจจะปนเปื้อนกับอุปกรณ์ที่ทำให้ลูกได้ค่ะ

6.เก้าอี้หัดนั่ง สำหรับเด็กเล็กยังทรงตัวไม่ค่อยได้ ใช้เก้าอี้ช่วยซึ่งจะช่วยฝึกวินัยไปด้วย เลือกให้ได้มาตรฐานปลอดภัย สามารถใช้ได้ทั้งแบบสูงและแบบต่ำค่ะ

7.กล่องใส่อาหาร สำหรับเก็บอาหารแช่แข็ง อาจจะเป็นบล็อคซิลิโคน ถุงซิปล็อค ถ้วยพลาสติกที่สามารถทนความร้อนเย็นได้
แต่ไม่ควรใช้ถ้วยแก้วนะคะ เพราะเวลาเอาไปแช่แข็งอาจจะทำให้มีเศษแก้วแตกเล็กๆปนในอาหารโดยไม่รู้ตัวค่ะ


#ผักเด็กหัดทาน
ควรเทสทีละชนิดนะคะ ทดสอบอาการแพ้ เด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกันค่ะ บางคนอาจไม่แพ้เลย

เด็ก 6 เดือนอาจเริ่มต้นด้วย ใบตำลึงผสมนมแม่ จากนั้นทดสอบผักต่อชนิด 1 สัปดาห์ หากทดสอบแล้วว่าไม่แพ้ แม่ๆสามารถผสมผักหลายชนิดรวมกันได้เลยค่ะ

ช่วงแรกอาจใช้เวลาสักหน่อยนะคะ กว่าจะเทสผักได้หลากหลาย

ควรให้ลูกเริ่มต้นจากการทานผักก่อนผลไม้นะคะ เพราะหากให้ทานผลไม้ก่อน ลูกอาจติดรสชาตหวาน ทำให้ทานผักยากค่ะ
 #ผลไม้เด็กหัดทาน
ควรเทสทีละชนิดนะคะ ทดสอบอาการแพ้ เด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกันค่ะ บางคนอาจไม่แพ้เลย

เด็ก 6 เดือน สามารถเริ่มทานกล้วย แอปเปิ้ล อวะคาโด บดละเอียด และน้ำส้มสดๆค่ะ

เด็ก 7 เดือน ทานทุกอย่างได้เหมือน 6 เดือน แต่สามารถเพิ่มแก้วมังกร ลูกพรุน พลับ

เด็ก 8-9 เดือน ทาได้เหมือนเดผ้ก 6-7 เดือนและสามรถเพิ่ม องุ่น แคนตาลูป แตงโม เมล่อน

เด็ก 10-11เดือน ทานได้ทุกอย่างเหมือนตอน 6-9 เดือนนะคะ และสามารถเพิ่มกีวี เชอรี่ ได้ค่ะ

เด็ก 12 เดือนขึ้นไป ทานได้ทุอย่างแล้วค่ะ รวมถึงตระกูลเบอร์รี่ต่างๆ


#เนื้อสัตว์

เด็ก 6 เดือนทานได้แต่ไข่แดงนะคะ เอาไข่ขาวออก เพราะหากทานไข่ขาวอาจกระตุ้นการแพ้โปรตีนในไข่ค่ะ สามารถทานไข่แดงได้ตอน 1 ปีขึ้นไปนะคะ

ปลาทะเล และอาหารทะเลควรให้เริ่มทานหลัง 1 ขวบ เพื่อป้องกันการแพ้ค่ะ

ความคิดเห็น